ธนบัตรหมุนเวียนแห่งประเทศไทย

ประเทศไทยนำธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๕ ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยามรัตนโกสินทร ศก ๑๒๑ โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลัง ในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สั่งพิมพ์และนำออกใช้ธนบัตรภายในประเทศ จนกระทั่ง มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕ งานเกี่ยวกับการจัดการและออกใช้ธนบัตร จึงโอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนบัตรหมุนเวียน ราคา 20 บาท ขนาด 7.20 x 13.80 เซนติเมตร

ภาพประธานด้านหน้า
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ


ภาพประธานด้านหลัง
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ภาพพระราชกรณียกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินที่สำเพ็ง และ

ธนบัตรหมุนเวียนราคา 50 บาท ขนาด7.20 x 14.40 เซนติเมตร


ภาพประธานด้านหน้า
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ

ภาพประธานด้านหลัง
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาพลูกโลกดาว กล้องโทรทรรศน์ และภาพพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม


ธนบัตรหมุนเวียนราคา 100 บาท ขนาด 7.20 x 15.00 เซนติเมตร
ภาพประธานด้านหน้า
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ



ภาพประธานด้านหลัง
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบเต็มยศทหารเรือ และภาพพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการเลิกทาส

ธนบัตรหมุนเวียนราคา 500 บาท ขนาด 7.20 x 15.60 เซนติเมตร
ภาพประธานด้านหน้า
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ

ภาพประธานด้านหลัง
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ภาพโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร และภาพเรือสำเภา

ธนบัตรหมุนเวียนราคา 1000 บาท ขนาด 7.20 x 16.20 เซนติเมตร

ภาพประธานด้านหน้า
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ



ภาพประธานด้านหลัง
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์และภาพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริ ทฤษฎีใหม่
ข้อมูล ,รูปภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

เงินบาท , Thai Baht

เงินบาท (ตัวละติน: Baht ; สัญลักษณ์: ฿ : รหัสสากลตาม ISO 4217: THB)
เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า "บาท" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขาย ทองคำ เช่น "ทองคำวันนี้ราคาขายบาทละ 8,400 บาท" หมายถึงทองคำหนักหนึ่งบาทสามารถขายได้ 8,400 บาท ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นในปัจจุบัน
เหรียญไทยนั้นผลิตออกมาโดย กองกปาษณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยสามารถผลิตออกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาค้ำประกัน เพราะโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกปาษณ์นั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรนั้นผลิตและควบคุมการหมุนเวียนโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตธนบัตรนำออกใช้จะมีหลักเกณฑ์วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีเสถียรภาพ

ซึ่งจะจำแนกหน่วยเงินในประเทศไทยได้ดังนี้

เหรียญ 25 สตางค์ (หรือเหรียญสลึงค์) เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย
น้ำหนัก 1.9 กรัม ; เส้นผ่านศุนย์กลาง 15 มม;
ส่วนประกอบ : อะลูมิเนียมบรอนซ์ ( 92% Cu, 6% Al, 2% Ni)

ออกใช้ครั้งแรกเมื่อ : พ.ศ. 2530

(แบบเก่า สีทองเหลือง ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน)

เหรียญ 25 สตางค์แบบใหม่
ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ผู้ออกแบบ : สุภาพ อุ่นอารีย์

ด้านหลังเป็นภาพของ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

ผู้ออกแบบ : ไพฑูรย์ ณ เชียงใหม่
เหรียญ 50 สตางค์ เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย
น้ำหนัก 2.4 กรัม ; เส้นผ่านศูนย์กลาง 18มม

ส่วนประกอบ : อะลูมิเนียมบรอนซ์ : 92% Cu, 6% Al, 2% Ni

ออกใช้ครั้งแรกเมื่อ : พ.ศ. 2530

(แบบเก่า สีทองเหลือง ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน)

เหรียญ 50 สตางค์แบบใหม่

ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ผู้ออกแบบ สุภาพ อุ่นอารีย์
ด้านหลังเป็นภาพของ พระเจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพ

ผู้ออกแบบ ไพฑูรย์ ณ เชียงใหม่

เหรียญ 1 บาท เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาทในชุดปัจจุบัน

น้ำหนัก 3.4 กรัม ; เส้นผ่านศุนย์กลาง 20 มม. ; ความหนา 1 มม.

ส่วนประกอบ : คิวโปรนิกเกิล 75% Cu, 25% Ni

ประกาศออกใช้เมื่อ : วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2529


ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางสาว สุภาพ อุ่นอารีย์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นาง พุทธชาติ อรุณเวช์

ด้านหลังเป็นภาพของ พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางสาว สุภาพ อุ่นอารีย์
ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นาย วุฒิชัย แสงเงิน

เหรียญ 2 บาท เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 2 บาทในชุดปัจจุบัน

น้ำหนัก 4.4 กรัม ; เส้นผ่านศูนย์กลาง 21.75 มม. ; ความหนา 1.7 มม.


ประกาศออกใช้เมื่อ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2548
ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ผู้ออกแบบ (หน้า) : นาย วุฒิชัย แสงเงิน

ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นาย ธรรมนูญ แก้วสว่าง

ด้านหลังเป็นรูปพระบรมบรรพต วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภูเขาทอง)

ผู้ออกแบบ (หลัง) : นาย ไชยยศ สุนทราภา

ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นาย ธรรมนูญ แก้วสว่าง

เหรียญ 5 บาท เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย

น้ำหนัก 7.5 กรัม ; เส้นผ่านศูนย์กลาง ; 24 มม. ;

ส่วนประกอบ : คิวโปรนิกเกิล สอดไส้ ทองแดง 75% Cu, 25% Ni ,สอดไส้: 99.5%Cu
ออกใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531
ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


ผู้ออกแบบ : สุภาพ อุ่นอารีย์

ด้านหลังเป็นภาพของ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร


ผู้ออกแบบ : สุภาพ อุ่นอารีย์


หรียญ 10 บาท เป็นเหรียญกษาปณ์ของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย
น้ำหนัก 8.5 กรัม ; เส้นผ่านศูนย์กลาง 26 มม. ; ความหนา 2 มม.
ส่วนประกอบ : วงแหวน : คิวโปรนิกเกิล : 75% Cu, 25% Ni
ตรงกลาง: อะลูมิเนียมบรอนซ์ : 92% Cu, 6% Al, 2% Ni
ออกใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 โดยผลิตเป็นเหรีญกษาปณ์โลหะสองสีแทนการใช้ธนบัตรราคา 10 มี่ได้ยกเลิกไปแล้ว
ด้านหน้าของเหรียญเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ส่วน



ผู้ออกแบบ : สุภาพ อุ่นอารีย์




ด้านหลังเป็นภาพของ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม




ผู้ออกแบบ : สุภาพ อุ่นอารีย์


ขอบคุณข้อมูลจาก : wikipedia

ทำไมต้องมีสกุลเงิน

$$$$ สกุลเงิน $$$

สกุลเงิน คือ หน่วยที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนในรูปแบบของเงิน สกุลเงินจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศหรือกลุ่มประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเงิน หรือการซื้อของหรือบริการ ระหว่างประเทศที่ใช้สกุลเงินต่างกัน จะใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน เป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง ในหลายๆ ประเทศสกุลเงินสามารถมีชื่อเดียวกันได้เช่น ดอลล่าร์สหรัฐ ดอลล่าร์ฮ่องกง และดอลล่าร์แคนาดา และในหลายประเทศใช้ สกุลเงินเดียวกัน เช่นในประเทศแถบยุโรปหลายประเทศใช้สกุลเงินยูโร และในบางประเทศใช้หน่วยเงินของประเทศอื่นเป็นเกณฑ์เช่น ประเทศปานามา และ ประเทศเอลซาวาดอร์ ใช้สกุลเงิน ดอลล่าร์สหรัฐ
สกุลเงินทั่วไปจะมีหน่วยสกุลเงินย่อย โดยส่วนมากจะเป็นอัตราส่วน 1/100 ของสกุลเงินหลัก เช่น 100 สตางค์ = 1 บาท หรือ 100 เซนต์ = 1 ดอลล่าร์ แต่บางสกุลเงินจะไม่มีหน่วยย่อยเช่น สกุลเงินเยน ในหลายหลายประเทศเนื่องจากเงินเฟ้อ ทำให้สกุลเงินย่อยมีการเลิกใช้ไป